สงกรานต์ เป็นประเพณีของประเทศไทย คำว่า สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง
การผ่าน หรือ การเคลื่อนย้าย
ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี
ประเพณีสงกรานต์
ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่
โบราณ ช่วงวันสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน
ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม
และศาสนา ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในสงกรานต์
ได้แก่ การใช้ "น้ำ" เป็นตัวแทน แก้กัน กับความหมายของฤดูร้อน
ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ
ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น และขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน
ได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทราย
และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน นอกจากนี้
ยังสร้างความรู้สึกผูกพันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน
สร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคมและสิ่งแวดล้อม
โดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ตลอดจนอาคารสถานที่ต่างๆ
ในปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน“มหาสงกรานต์”
หรือ
“วันเริ่มต้นปีใหม่”ทั้งนี้เป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีน
เข้าสู่ราศีเมษนั้น โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์
จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี
มี 3วัน คือวันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า (วันที่ 13 เมษายน)
วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่หรือวันเถลิงศก (วันที่
15 เมษายน)
ประเพณีสงกรานต์อันงดงาม
ข้อมูลการจัดประเพณีสงกรานต์ “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ประจำปีพุทธศักราช 2559
1. สงกรานต์กรุงเทพ
วันที่จัดงาน วันที่ 12 - 15 เมษายน 2559
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- ประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์
เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 ซึ่งถือเป็น “สงกรานต์แห่งตำนาน
งามตระการคู่พระนคร”ที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชนในชุมชน
และเป็นงานสงกรานต์ในตำนานที่เป็นต้นแบบของการประกวดเทพีสงกรานต์
ซึ่งมีการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 70ปี
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณถนนวิสุทธิกษัตริย์ (สี่แยกบางขุนพรหม) ใต้สะพานพระราม 8
สอบถามเพิ่มเติม ประธานประชาคมชาววิสุทธิกษัตริย์ โทร. 08 6345 5836 / สำนักงานเขตพระนคร โทร. 0 2628 9068
- ประเพณีสงกรานต์บางลำพู
เป็นการอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป
ภายในงานมีพิธีอัญเชิญพระพุทธบางลำพูประชานาถจากวัดบวรนิเวศวรวิหาร
มาประดิษฐาน ณ สวนสันติชัยปราการ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ
เพื่อความเป็นสิริมงคล เจริญพระพุทธมนต์ทำบุญตักบาตร
ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ พิธีรดน้ำอวยพรผู้สูงอายุและการแสดงนาฏศิลป์
สถานที่จัดงาน ณ บริเวณสวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพฯ
สอบถามเพิ่มเติม สำนักงานเขตพระนคร โทร. 0 2628 9068
- งานเทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ : มหัศจรรย์ มรดกจารึก 3 แผ่นดิน
วันที่ 10 เมษายน 2559 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 18.00 น.
ขบวนเคลื่อนจากลานพลับพลาเจษฎามหาบดินทร์ – ถนนราชดำเนินกลาง –
ถนนราชดำเนินใน – ถนนหน้าพระลาน – ถนนมหาราช – สวนนาคราภิรมย์
เป็นเรื่องราวของ มหัศจรรย์มรดกจารึก ๓
แผ่นดินขบวนเล่าขานตำนานจารึกสงกรานต์
มรดกโลกเรื่องราวตำนานธรรมบาลกับนางสงกรานต์ทั้ง ๗
ที่ถูกจารึกบนแผ่นดินไทย
ร่วมกันสืบสานงานประเพณีที่ดีสืบทอดให้ตราไว้ชั่วลูกชั่วหลาน
แบ่งระยะการนำเสนอออกเป็น ๓ ขบวน
โดยมีแนวคิดจากการแพร่ขยายไปทั่วแผ่น
จารึกริเริ่ม รัชสมัยที่ ๓ : ศิลาจารึกมรดกโลก
จารึกแผ่นดิน รัชสมัยที่ ๕ : ๑๓ เมษาสงกรานต์ไทย
จารึกเพื่อนบ้าน รัชสมัยที่ ๗ : สงกรานต์เพื่อนบ้าน
ขบวนรถเชิญตราสัญลักษณ์นำเอาศิลจารึกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า
อยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ให้จารึกวรรณกรรมตำนานสงกรานต์ไว้ที่ผนังกำแพงในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
โดยนำขบวนนักแสดงพร้อมเหล่าสัตว์หิมพานต์เดินมาพร้อมกับธรรมบาล
และนางสงกรานต์ทั้ง ๗
ถือได้ว่าเป็นการจำลองเรื่องราวตำนานออกมาในรูปแบบการแสดง
และครั้งแรกที่จะได้พบกับการยกม่านน้ำมาไว้กลางกรุงบนถนนราชดำเนิน
ในชุดการแสดง “จารึกศักราช มหาสงกรานต์ มรดกวิถีไทย”
และตามมาด้วยขบวนที่เข้าถึงรัชสมัย ชาวไทยจะได้ทัศนามหาสงกรานต์วิถีไทย
ทั้งแผ่นดิน ขบวนสงกรานต์วิถีชนชาติไทยใจบุญทั้ง ๕ ภาค
เรื่องราวที่ชาวไทยทุกคนจะได้ออกมาศักการะและทำบุญ ในรอบบุญปีใหม่
ประกอบด้วย
๑. ภาคเหนือ สลุงหลวง จังหวัดลำปาง
๒. ภาคอีสาน ต้นดอกไม้ จังหวัดเลย
๓. ภาคกลาง สงกรานต์ไทยมอญ จังหวัดราชบุรี
๔. ภาคตะวันออก ศรีมหาราชาและกองข้าว จังหวัดชลบุรี
๕. ภาคใต้ นางดาน จังหวัดนครศรีธรรมราช
และจบด้วยขบวนความสัมพันธ์สองแผ่นดินของสองฝั่งโขงระหว่างไทยกับลาว
นำเสนอความสัมพันธ์ของพระธาตุ
สองแผ่นดินที่เชื่อมโยงระหว่างพระธาตุพี่น้อง พระธาตุพระพนม จังหวัดนครพนม
ที่เชื่อมความสัมพันธ์ด้วยสายสิญจน์ ไปยังพระธาตุศรีโครตบอง ประเทศลาว
นับเป็นการเปิดตัวเทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ ประจำปี 2559
โดยระหว่างการเคลื่อนขบวนจะมีการแสดงเบิกโรงประจำจุดการแสดงเวทีหน้า
ลานพลับพลาเจษฎาบดินทร์ และเวทีหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นอกจากนี้
ยังมีการจำลองตลาดโบราณ และการละเล่น การแสดงมหรสพ ที่หาชมได้ยาก ได้แก่
ละครนอก หุ่นหลวง ในบริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
(วัดโพธิ์) ในวันที่ 10-12 เมษายน 2559 ตั้งแต่เวลา 10.30-20.30 น.
สถานที่จัดงาน ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ –
ถนนราชดำเนินกลาง – ถนนราชดำเนินใน – ถนนหน้าพระลาน – ถนนมหาราช –
สวนนาคราภิรมย์
สอบถามเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 0 2250 5500 ต่อ 3470-3 หรือเบอร์เดียวเที่ยว ทั่วไทย 1672
ที่มา : ททท
Home
»
สงกราน2559
»
สงกราน2559กรุงเทพ
»
สงกรานกรุงเทพ
»
สงกรานกรุงเทพ2559
»
สงกรานไทย
» ประเพณีสงกรานต์ ประจำปีพุทธศักราช 2559 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ สงกรานต์กรุงเทพ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Post a Comment
Post a Comment