ถนนสายงาม ต้นยาง เชียงใหม่-ลำพูน
ขอบคุณสำหรับ คอมเม้นของคุณพี่แตบ(บทความที่แล้ว)นะคะ ถ้าหากว่าเอาคนชั่วมาให้โคลนดูดนี่พื้นที่คงจะไม่พอเพราะคนชั่วมันเยอะ 555+ เอาไปมัดขาถ่วงน้ำดีก่า อิอิ และตามคำแนะนำค่ะ วันนี้ก็เลยหยิบยกเอา ถนนสายงาม ต้นยาง เชียงใหม่-ลำพูน มาโพสกันในวันนี้ แต่ก่อนอื่นก็ต้องขอเล่าประวัติก่อนนะคะ กล่าวกันว่า.....
สมัยเจ้าอินทรวิชัยยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ระหว่าง พ.ศ. 2416-2440 ซึ่งเป็นพระราชบิดาพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ในรัชสมัยของพระองค์ มหาอำมาตย์โทเจ้าพระยาสุรสีวิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลญาณมิตร) สมุหเทศาภิบาล มณฑล พายัพ ได้นำพันธุ์ต้นยางกว่า 1,500 ต้น ปลูกตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จนถึงเขตติดต่อ อ.เมือง จ.ลำพูน ระยะทาง 10 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2425
พระ ยาสุรสีวิศิษฐ์ศักดิ์ ได้กำชับว่า ถ้าต้นยางปลูกตรงกับหน้าบ้านผู้ใด ก็ให้เจ้าของบ้านผู้นั้น เอาใจใส่ทำรั่วล้อมรอบ เพื่อกันวัวควายมาเหยียบย่ำ และให้หมั่นรดน้ำพรวนดินดายหญ้าใส่ปุ๋ย
นับจากวันนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ต้นยางมีอายุ 125 ปีแล้ว
เมื่อ ปี 2536 แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 กรมทางหลวง สำรวจตรวจนับต้นยางที่อยู่ในเขตทางหลวงมี 1,011 ต้น แต่มีต้นยางบางต้นยืนแห้งตาย จึงประสานสำนักงานป่าไม้จังหวัด ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ตัดไม้ยางออก ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่กำหนดไว้ว่า การตัดโค่นไม้ยางต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หากตัดโดยพลการจะมีความผิดตามกฎหมาย
นาย ปกรณ์ ธีรธำรง นายช่างแขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2537 – 2546 มีต้นยางยืนตาย ถูกฟ้าผ่า พายุพัดโค่นล้ม 7 ต้น และกรมโยธาขอตัดออก เพื่อก่อสร้างถนนวงแหวน รอบกลาง สาย “ฌ” อีก ต้น รวม 75 ต้น ปัจจุบันเหลือต้นยาง 936 ต้น
ใน ช่วงที่ก่อสร้างถนนวงแหวนรอบกลาง ตัดผ่านสายเชียงใหม่-ลำพูน หรือสารภีสายเก่า เมื่อปี 2540-2542 ชาวบ้าน อ.สารภี ได้คัดค้านการตัดต้นยางออก เกิดการต่อต้านเป็นวงกว้าง กระทั่ง นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ต้องลงมาดูพื้นที่ พร้อมให้สร้างทางลอดใต้ดิน จุดที่ตัดถนนสารภีสายเก่า หลีกเลี่ยงตัดต้นยาง พร้อมสั่งห้ามตัดต้นยางออกอีก
นายวิริยะ ช่วยบำรุง ป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่เล่าให้ฟังว่า
“โดย ทั่วไป ต้นยางมีอายุ 100-150 ปี เมื่อนับอายุต้นยางสารภีแล้วใกล้สิ้นอายุขัย ประกอบกับการสร้างถนนสายสารภี มีการตัดทับรากฝอยที่ดูดซับธาตุอาหารหล่อเลี้ยง ใช้ซีเมนต์ล้อมต้นยาง ตะปูตอกติดป้ายโฆษณา หรือใช้น้ำยาฉีดพ่นให้ตายยืนต้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้นยางใกล้สิ้นลมหายใจ”
“ขณะ นี้มีต้นยางที่แห้งตาย รอการตัดออกไปอีก 6-7 ต้น เนื่องจากเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรใช้รถใช้ถนน ที่ผ่านมามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จากอุบัติเหตุกิ่งไม้ร่วงหล่นใส่หลายราย และเกิดอุบัติเหตุรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชนต้นยางบ่อยครั้ง”
“จึง มีแนวคิดขยายเพาะพันธุ์ต้นยางสารภีไปปลูกยังถนนเลียงทางรถไฟเชียงใหม่-ลำพูน แทน เนื่องจากประสบผลสำเร็จการเพาะพันธุ์ต้นยางที่ศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด และแจกจ่ายพันธุ์ให้ชาวบ้านไปปลูกนับแสนต้นแล้ว หากอนุรักษ์ต้นยางสารภี เป็นรูปธรรม จะเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการต้นยางสารภีแบบบูรณาการ เพราะมีหน่วยงานและองค์กรประชาชนหลายแห่งเกี่ยวข้อง”
นาย สุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จะให้ถนนสารภีสายเก่า เป็นถนนนำร่องอนุรักษ์และพัฒนาแบบบูรณาการ หรือซีอีโอ เนื่องจากเป็นถนนสายสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีการส่วนร่วมของเอกชน จังหวัดจะตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการ เพื่อสำรวจตรวจสอบต้นยางทุกต้น ว่าต้นไหนจะอนุรักษ์ ต้นไหนจะต้องฟื้นฟูหรือตกแต่งกิ่ง ไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้สัญจร และต้นไหนที่แห้งตายต้องตัดออก ไม่ให้กระทบความรู้สึกชุมชนที่ร่วมรักษาต้นยางเหล่านี้
นับจากนี้ไป คงนับเวลาถอยหลังที่ต้นยางสารภีจะสิ้นอายุขัยตามกาลเวลา พร้อมกับอนุรักษ์เพาะพันธุ์ไปปลูกที่แห่งใหม่
คงไม่ใช่การสิ้นสุดหรือล่มสลายของต้นยางบนถนนสายประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่อย่างใดค่ะ
ที่กล่าวมาข้างต้นก็คือประวัติความเป็นมาของ ถนนสายต้นยางงามแห่งนี้นะคะ ขอบอกว่า เทศกาลสงกรานถนนสายนี้เล่นกันอย่างมันส์ สาดกันแบบแทบไม่ลืมหูลืมตากันเลย ถือว่าเป็นถนนที่ ควรคู่ต่อการรักษาเอาไว้นะคะ หาเราไม่ช่วยกันแล้วใครเล่าจะมาช่วยเรา เพื่อโลกเพื่อตัวเราเองค่ะ
travel and food,Thailand
Post a Comment
ว้าวๆๆๆๆๆ!
ขอบคุณมากมายจากใจจริงเลยค่ะน้องเมโม่ อ่านบทความนี้จบแล้วรู้สึกดีมากๆเลย ได้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ด้วย
น่าชื่นใจจังเลยนะคะที่ได้ทราบว่าชาวบ้านที่นี่เค้ารักและหวงแหนต้นยางบนถนนประวัติศาสตร์แห่งนี้ แถมยังมีแผนที่จะขยายพันธุ์เพิ่มเติมอีก ไม่รู้แตบจะอยู่รอดูไหวหรือเปล่านะ แต่ไม่เป็นไรค่ะ อย่างน้อยๆก็ถือเป็นสมบัติตกทอดให้คนรุ่นใหม่ไป
ขอบคุณในความมีน้ำใจที่นำเสนอเรื่องนี้ตามคำขอนะคะน้องเมมโม่ ขอให้สวยวันสวยคืน พี่แตบสัญญาว่าจะแวะเวียนมาอ่านบ่อยๆเหมือนที่ผ่านมาแน่นอนค่ะ
Post a Comment