GOOD

 

memorry memorry Author
Title: แอ่ววัด แอ่วเวียงเจียงใหม่ Old Temple (Wat) Attractions In Chiang Mai City
Author: memorry
Rating 5 of 5 Des:
Old Temple (Wat) Attractions In Chiang Mai City อาณาจักรล้านนา นับได้ว่าเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาสูงสุด จึงปรากฎให...
Old Temple (Wat) Attractions In Chiang Mai City
อาณาจักรล้านนา นับได้ว่าเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาสูงสุด จึงปรากฎให้เห็นวัดวาอารามในเขตอ. เมืองของจังหวัดเชียงใหม่อยู่มากมาย เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญ ๆ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน และเป็นแหล่งโบราณสถานที่รวบรวมเอาศิลปะ สถาปัตยกรรมที่วิจิตรบรรจงสวยงามที่ควรค่าต่อการอนุรักษ์ รักษาสืบไป
ไหว้พระ 10 วัด ในเวียงเชียงใหม่ การไหว้พระ 10 วัด เป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต โดยเฉพาะวัดที่มีชื่อดี นามมงคล จะช่วยเสริมบารมีในชีวิตของพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาอีกด้วย ซึ่งแต่ละวัดล้วนแล้วแต่เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และมีความสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่



1. วัดเชียงมั่น ตั้งอยู่ที่ ถ. ราชภาคินัย ต. ศรีภูมิ โทร. 0 5321 3170
วัด เชียงมั่น เป็นวัดแรกที่สร้างขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.1840 ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น กล่าวว่า หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังราย สร้างเมืองเชียงใหม่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ทั้งสามพระองค์ทรงโปรดให้ก่อเจดีย์ที่หอนอนบ้านเชียงมั่น ซึ่งใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวเพื่อควบคุมการสร้างเมืองเชียงใหม่ ต่อมา พระองค์ทรงยกพระตำหนักที่ประทับถวายเป็นพระอาราม ให้ชื่อว่า “วัดเชียงมั่น” เป็นที่ประดิษฐานพระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว เป็นพระพุทธรูปแก้วผลึกสีขาวปางมารวิชัย เป็นที่เคารพ สักการะของชาวเชียงใหม่

2.วัดพระสิงห์ ตั้งอยู่ที่ ถ. สามล้าน ต. พระสิงห์ โทร. 0 5327 5139
วัด พระสิงห์ (พระธาตุประจำปีมะโรง) เป็นวัดที่สำคัญของนครเชียงใหม่ เพราะเป็นวัดที่มีประวัติยาวนานกว่า 655 ปี สมัยแรก วัดนี้ได้ชื่อว่า “วัดลีเชียงพระ” หมายความว่า วัดที่ตั้งใกล้ตลาดกลางเมือง ในสมัยกษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์มังราย ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานในวัดนี้ จึงเรียกว่า “วัดพระสิงห์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วัดพระสิงห์ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ประเภทวรมหาวิหาร วัตถุสถานในวัด ทั้งพระอุโบสถ วิหารลายคำ วิหารหลวง หอไตร และภาพจิตรกรรมในวิหารลายคำ จึงทรงคุณค่า วัดแห่งนี้จึงเป็นที่รวมของตัวอย่างศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมล้านนามากที่สุด

3.วัดเจดีย์หลวง (วัดโชติการาม) ตั้งอยู่ที่ ถ. พระปกเกล้า ต. ศรีภูมิ โทร. 0 5334 2252
วัด เจดีย์หลวง เป็นวัดที่มีเจดีย์ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์องค์ ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พญาแสนเมืองมา) เพื่อสนองดวงวิญญาณของพญากือนา ผู้เป็นบิดา ที่ไปบังเกิดเป็นเทวดาสิงสถิตย์อยู่ใต้ร่มไทรใหญ่เมืองพุกาม และต้องการให้พญาแสนเมืองมาสร้างเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด ในปี พ.ศ. 2024 สมัยของพญาติโลกราชพระองค์โปรดให้ช่างสร้างเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ สูงถึง 92 เมตร ฐานกว้างด้านละ 54 เมตร ต่อมาสมัยพระนางเจ้าจิระประภาครองเมืองเชียงใหม่ ได้เกิดแผ่นดินไหวทำให้ยอดเจดีย์โค่นลงมา จากนั้นกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะเสริมความมั่นคงองค์พระเจดีย์ในส่วนที่ เหลืออยู่ ให้แข็งแรงเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์สืบไป

4.วัดชัยมงคล ตั้งอยู่ที่ ถ. เจริญประเทศ ต. ช้างคลาน โทร. 0 5328 0671
วัด ชัยมงคล อยู่ริมแม่น้ำปิง สร้างราวสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์นครเชียงใหม่ ในสมัยที่เชียงใหม่ถูกพม่าปกครอง วัดนี้ถูกเรียกว่า วัดอุปาเพ็ง หรือ วัดอุปาพอก จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เปลี่ยนมาเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดชัยมงคล ลักษณะของเจดีย์วัดชัยมงคล เป็นศิลปะพม่า-มอญ

5.วัดดวงดี ตั้งอยู่ที่ ถ. พระปกเกล้า ต. ศรีภูมิ โทร. 0 5321 4728
วัด ดวงดี เดิมชื่อ “วัดต้นหมากเหนือ” ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว และมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งเป็นผู้คิดค้นการสร้าง ลักษณะของวิหารและโบสถ์เป็นแบบพื้นเมืองล้านนา มีลวดลายแกะสลักไม้ประดับสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

6.วัดลอยเคราะห์ ตั้งอยู่ที่ ถ. ลอยเคราะห์ ต. ช้างคลาน โทร. 0 5327 3873
วัด ลอยเคราะห์ เดิมชื่อว่า วัดร้อยข้อ (วัดฮ้อยข้อ) สร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย วัดนี้จึงมีอายุราว 500 ปี ในสมัยที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า วัดแห่งนี้ไม่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงมีสภาพทรุดโทรมมาก และกลายเป็นวัดร้างกว่า 20 ปี ต่อมา ในสมัยพญากาวิละปกครองล้านนา พระองค์ทรงบูรณะซ่อมแซมวัดให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พระองค์ทรงกวาดต้อนพลเมืองเชียงแสนและโปรดให้ชาวเชียงแสนตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ เวียงชั้นนอกด้านขวาของประตูท่าแพ ทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบริเวณวัดลอยเคราะห์ในปัจจุบัน ศิลปสถาปัตยกรรมเป็นแบบพื้นเมืองของชาวล้านนา มีพระพุทธรูปปางถวายเนตรและพระเจ้าทันใจ ประดิษฐานอยู่

7. วัดดับภัย ตั้งอยู่ที่ ถ. สิงหราช ต. ศรีภูมิ โทร. 0 5322 2964
วัด ดับภัย เดิมชื่อ “วัดอภัย” หรือ “วัดตุงกระด้าง” มีตำนานเล่าว่า เมื่อพญาอภัยล้มป่วยทำการรักษาอย่างไรก็ไม่ทุเลา จึงตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าหลวงพ่อดับภัย อาการเจ็บป่วยก็หายไปพลัน พญาอภัยจึงให้บริวารลูกหลานตั้งบ้านเรือนบริเวณวัด และบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงเรียกชื่อใหม่ว่าวัดดับภัย เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนา วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำอยู่หน้าวิหาร เชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สมัยพระเจ้าอินทวโรรส เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 เสด็จกลับจากกรุงเทพ ฯ ต้องแวะมาวัดดับภัย เพื่อนำน้ำในบ่อนี้ไปสรงน้ำพระพุทธมนต์ ก่อนแวะไปวัดเชียงยืนเพื่อสืบดวงชะตา

8. วัดเชียงยืน ตั้งอยู่ที่ ถ. มณีนพรัตน์ ต. ศรีภูมิ โทร. 0 5321 1654
เป็น วัดโบราณแห่งหนึ่งซึ่งมีโบสถ์แปดเหลี่ยมที่เก่าแก่ด้วยรูปแบบศิลปะพม่า แม้ตัวโบสถ์จะทรุด โทรมตามกาลเวลา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปพม่า ห้ามผู้หญิงเข้าตามความเชื่อของชาวล้านนาที่มีความเชื่อว่าสถานที่ประกอบ พิธีทางศาสนาหรือพิธีสำคัญ ๆ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องการความสะอาดบริสุทธิ์ ตำนานกล่าว ไว้ว่า หากกษัตริย์องค์ใดจะขึ้นครองราชย์ต้องมานมัสการพระประธานที่วัดนี้ก่อน จนเป็นธรรมเนียม ประเพณี แต่ก็ยกเลิกไปเมื่อครั้งเชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า

9. วัดหมื่นเงินกอง ตั้งอยู่ที่ ถ. สามล้าน ต. พระสิงห์
วัดหมื่นเงินกองเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์มังราย เป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนา ในย่านสามล้านอันเป็นที่พักขุนนางชั้นสูง หมื่นเงินกองเป็น ชื่อของอำมาตย์ท่านหนึ่งในรัชกาลของพญากือนาที่ได้โปรด ฯ ให้ไปอาราธนาพระสุมนเถระที่กรุงสุโขทัยมาเผยแพร่ศาสนาในล้านนา จึงสันนิษฐานว่ามหาอำมาตย์ท่านนี้สร้างวัดนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ตน เอง
นอก จากนี้ ยังมีวัดสำคัญอื่น ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ วัดพันเตา ตั้งอยู่ที่ ถ. พระปกเกล้า ต. พระสิงห์ โทร. 0 5381 4689 วิหารเดิมเป็นหอคำ หรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศเป็นอาคารเครื่องไม้แบบพื้นเมือง ซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูง อันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือ วัดกู่เต้า ตั้งอยู่ที่ ต. ศรีภูมิ ติดกับสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ เดิมชื่อว่าวัดเวฬุวนาราม มีเจดีย์ที่มีลักษณะแปลกไปกว่าเจดีย์อื่น ๆ ในเมืองไทย คือคล้ายกับผลแตงโมวางซ้อนกันอยู่หลายลูก ชาวบ้านจึงเรียกว่าเจดีย์กู่เต้า มีตำนานเล่าว่า เจดีย์กู่เต้านี้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าสารวดีซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าบุ เรงนอง วัดแสนฝาง ตั้งอยู่ที่ ถ. ท่าแพ ต. ช้างคลาน เป็นย่านการค้าของพ่อค้าชาวพม่าที่มีศิลปะการก่อสร้างแบบพม่า นอกจากนี้ยังมีกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี วัดบุพพาราม ตั้งอยู่ที่ ถ. ท่าแพเยื้องกับวัดแสนฝาง เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ พระเมืองแก้วโปรดให้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2039 ภายในหอมณเฑียรธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปไม้สักขนาดหน้าตักกว้าง 1 วาเศษ มีอายุประมาณ 400 ปี ตามประวัติเล่าว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพจากเมืองอยุธยาเพื่อขึ้นมาปราบอริราชศัตรูที่ มารุกรานเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2147 จนทัพศัตรูได้ล่าถอยไปทางเมืองแหงและเมืองต๋วน สมเด็จพระนเรศวรฯจึงพักรบและสร้าง “พระพุทธนเรศศักดิ์ชัยไพรีพินาศ” องค์นี้ขึ้น วัดป่าเป้า ตั้งอยู่ที่ ถ. มณีนพรัตน์ ต. ศรีภูมิ เป็นวัดเงี้ยวแห่งแรกในเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2426 ลักษณะของพระธาตุที่วัดป่าเป้านี้เป็นแบบไทยใหญ่ มีการจัดประเพณีปอยส่างลองขึ้นเป็นประจำในเดือนเมษายนของทุกปี วัดช่างฆ้อง ตั้งอยู่ที่ ถ. ลอยเคราะห์ ต. ช้างม่อย สร้างเมื่อ พ.ศ. 1900 โดยชาวบ้านช่างฆ้องที่อพยพมาจาก
เชียงแสน สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ภายในวัดมีหอไตรซึ่งเป็นตึกสองชั้นตกแต่งด้วยลายปูนปั้นและไม้ฉลุเป็นศิลปะ ผสมระหว่างจีนและพม่า ด้านนอกอาคารมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระเจ้าสิบชาติฝีมือช่างพื้นบ้าน ซึ่งยังคงสมบูรณ์อยู่ พระสิงห์หยกวัดอู่ทรายคำ แกะสลักจากหยกประเภท Jadeite น้ำหนัก 900 กิโลกรัม เป็นศิลปะแบบเชียงแสนประยุกต์ และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเศียร พระพักตร์มีสีใส ลักษณะสงบเย็น พระสิงห์หยกประดิษฐานอยู่ที่วัดอู่ทรายคำ ตั้งอยู่ที่ ถ. ช้างม่อยเก่า ต. ช้างม่อย โทร. 0 5323 4210 วัดโลกโมฬี โทร. 0 5340 4039 ตั้งอยู่ที่ ถ. มณีนพรัตน์ ต. ศรีภูมิ เดิม วัดโลกโมฬี มีสภาพเป็นวัดร้าง เมื่อคราวเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับการรื้อฟื้นจากการเป็นวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ โดยคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่

10. วัดศรีสุพรรณ แวะนมัสการหลวงพ่อพุทธปาฏิหาริย์ พระพุทธรูปเก่าแก่ อายุกว่า 500 ปี คู่วัดเมื่อเริ่มสร้าง (พ.ศ.2043) ในสมัยพญาแก้ว( พระเมืองแก้ว ,พ.ศ.2038 - 2068) ประดิษฐานในอุโบสถเงิน ศาสนสถานแห่งแรกของโลก ที่สร้างและประดับด้วยเงิน วัสดุแทนเงิน (แผ่นภาพอลูมิเนียม) สลักลายตามแบบศิลปะไทย บนรากฐานแห่งการคงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเครื่องเงินและการดุนลายแผ่นโลหะ
ประวัติของกลุ่มหัตถศิลป์ล้านนา วัดศรีสุพรรณ ... ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องเงินเป็นมรดกที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แสดงถึงอาชีพและวิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวบ้านศรีสุพรรณ บ้านหมื่นสาร ถนนวัวลาย อำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จากอดีตที่มีความเจริญรุ่งเรือง แต่ปัจจุบันกลับเข้าสู่สภาวะของความเสื่อมถอยมากยิ่งขึ้น ดังเป็นที่ประจักษ์แก่คนในท้องถิ่น
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่ม เกิดจากความตระหนักถึงการอนุรักษ์และพัฒนามรดกชิ้นนี้ ของเจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ และนายช่างดิเรก สิทธิการ ร่วมกับภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น จึงได้จัดกิจกรรมแข่งขันฝีมือการดุนลายและออกร้านเครื่องเงินในโอกาสจัดงาน "มรดกล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๕๐๐ ปี วัดศรีสุพรรณ" เมื่อ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๓ นับเป็นจุดเริ่มต้นการก่อตั้งกลุ่มและมีพัฒนาการตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
For more information please contact us : www.watsrisuphan.org , info@watsrisuphan.org, 053-200332, 053-202751 fax.053-202751




Old Temple (Wat) Attractions In Chiang Mai City The Kingdom of Lanna, the land of Buddhism. Inside the moated city of Chiang Mai and nearby, over 300 temples were constructed. Temples preserving ancient architecture and images of the Lord Buddha. Today it is very important for everyone to conserve and keep these treasures for the next generation.

One Day visit to nine old temples in Chiang Mai. Buddhists belief that they can wish for a better life by praying at nine temples in one day (nine is a lucky number for Thai people).



1. Wat Chiang Mun is the oldest temple in Chiang Mai. It is located within the walled city on Ratchapakinai Road. King Mengrai allegedly lived here while the new city of Chiang Mai was being constructed. Enshrined in Wat Chiang Mun is a tiny crystal Buddha called Phra Setang – Kamanee. It is thought to have the power to bring rain. Another image, called Phra Silakao, reflects the fine workmanship of Indian craftsmen from hundreds of years ago. Tel. 0 5321 3170.

2. Wat Phra Singh is located in the centre of the city at the intersection of Singharat and Ratchadamnoen Roads. The large chedi was built in 1345 by King Pha Yoo to house the remains of his father King Kam Foo. A typical scripture repository is located at this temple also. These repositories were designed to keep and protect sacred texts written on palm leaves and the delicate sa or mulberry paper sheets used by monks and scribes to keep records and write down folklore. The high stucco-covered stone base of the repository protected the delicate scriptures from the rains, floods and pests. The walls of the chapel are covered with murals illustrating Lanna customs, dress, and scenes from daily life. The lovely Lai Kam chapel houses the revered Phra Singh Buddha image. Sadly, the head was stolen in 1992 Tel. 0 5327 5139.

3. Wat Chedi Luang is also home to “The Pillar of the City”, a totem used in ancient Thai fertility rites, because the temple itself marks the exact centre of Chiang Mai. A guardian spirit known as “Prueksa Thevada”, an all-knowing sage, inhabits a nearby tree. The Inthakhin Festival fertility rite lasting for seven days takes place each year during the months of May or June. This observance ensured unity within Lanna society, in days of old it gave protection from siege and warfare and made certain that the rains would fall at the proper time so that the fields would be fertile and farmers' crops would be abundant. Tel. 0 5334 2252

4. Wat Chai MongKol is located on the bank of Ping River. This temple was constructed during the reign of King Tilokkaratch. During the occupation of Chiang Mai by Burma this temple was called Wat Oop Pa Peng or Wat Oop Pa Pok. LaterKingb RamaV changed the name to Wat Chia Mong Kol. The pagoda of this temple is built in Burmese style. Tel. 0 5321 4728

5. Wat Duang Dee is located on Phra Pok Kloa Road. In the past this temple was called Wat Ton Mak Nue. There is no exact evidence to show when this temple was built but we assume that it was constructed sometime after King Mengrai established Chiang Mai City. Thewiharn is designed in Lanna style. The name of this temple means ‘Good Luck’ in Thai. Tel. 0 5327 3873

6. Wat Loi Kroh is located on Loi Kroh Road. In ancient times this temple was called Wat Hoi Khor. It was constructed by the sixth King of the Mengrai dynasty, and so is more than 500 years of age. After the Burmese had been driven out of Chiang Mai towards the end of the eighteenth century, the city was deserted for twenty years. When Prince Kawila came to reconstruct the city, he brought in many people fron other regions. Immigrants from Chiang Sean settled around this temple. The chedi and wiharn were designed in local Lanna style. Tel. 0 5327 3873

7. Wat Dab Pai is located on Singharatch Road. In the past this temple was called Wat A-Pai or Wat Tung Kra Dang. Legend says that a monk called Phraya A-Pai, who was very sick and could not be cured, came to this temple and prayed for good health in front of an image of the monk, Dab-Pai. He recovered immediately. In gratitude he reconstructed the temple and changed its name to Wat Dab Pai and settled his family nearby. Today devout Buddhists still come to the temple to pray for good health. There is a sacred well in front of the wiharn, from which the King draws water to bathe images of the Lord Buddha. Tel. 0 5322 2964

8. Wat Chiang Yuen is located outside the city wall on Mani Nopharat Road. Wat Chiang Yuen is one of oldest temples in Chiang Mai where every King had to pay homage to the Buddha image called "Phra Suppunyu-Chao" (located in the viharn) in order to gain good fortune in life. Hence, it is believed that the word "Chiang Yeun" means "long life.

In the period of King Phra Muangkaew (A.D. 1495-1525) the Buddha relics were enshrined in the stupa. The temple was abandoned after the Burmese defeat. Later on it was rebuilt by Phraya Wachiraprakarn. The big white and golden stupa is the most striking feature of this temple. Tel. 05321 1654.

9. Wat Muen Ngern Gong is located on San Larn Road. This temple was first constructed in the time of King Mengrai in local Lanna style. Many rich families in Chiang Mai sponsor this temple since its name. Muen Ngern Gong, means millionaire or riches.

Besides these nine, there are also other important temples in Chiang Mai such as, Wat Pan Toa which is located on Phrapokkloa Road. The wooden viharn was carved in local Lanna style and the doors decorated with peacocks. Wat Ku Tao is located behind the Municipal Stadium at the north of the moat. It contains a delightful, almost whimsically constructed chedi shaped like five melons. All five globes are decorated with intricate pieces of coloured porcelain. The outer wall of the temple is decorated with charming murals. Wat Saen Fang is of Burmese style situated in a surprisingly serene spot just off busy Tha Pae Road. Wat Buppharam is located on Tha Pae Road. Interesting features include the chedi constructed in the Burmese architectural style, the carved wooden main chapel roof and the small wood chapel constructed in the local style. Wat Pa Poa is located on Mani Nopharat Road. It is the first Ngeaw (a minority group) temple in Chiang Mai where a Poi Sang Long Procession is held every April. Wat Chang Kong is located on Loi Kroh Road. It was constructed by Chang Kong villagers who immigrated from Chiang Sean at the beginning of the Rama Period. Wat U-Sai Kam is located on Chang Moi Kao Road and houses an image of the Lord Buddha made from jadeite Tel. 0 5323 4210 Wat Lok Moree is located on Mani Nopharat Road. It was abandoned during World War Two and recently reconstructed in local Lanna Style.

10. Wat Srisuphan Visit Phra Puttha Partiharn, 500 years of Buddha image discover in 1500 A.D. when the temple was built by King Kaew. He was held in the silver ordination hall, decorated with silver and embossing Aluminum plates. In the left side you will see the ancient Vihara (about 200 years) that made of teak. Inside there are the painting of 12 stupas for each 12 Chinese's zodiac years.

Since 2000 A.D., Hatthasin Lanna Group was found by Mr.Direk Sittikarn and Phra Kru Pitaksuttikun, the present abbot of Wat srisuphan. Because of realizing that the local wisdom of making silverware is going rapidly to die soon, so they decided to held the workshop named "Mor ra dok Lanna Phum Panya Tongthin 500 years Wat srisuphan" (Lanna heritage, local wisdom of making silverware in 500 years of Wat srisuphan ceremony) in 30th March 2006. That was the beginning of the group and was developed to nowadays.

For more information please contact us : www.watsrisuphan.org , info@watsrisuphan.org, 053-200332, 053-202751 fax.053-202751

Advertisement

Post a Comment

 
Top