GOOD

 

memorry memorry Author
Title: ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว
Author: memorry
Rating 5 of 5 Des:
ข้อมูลทั่วไป ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยเสี้ยว ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่...

ข้อมูลทั่วไป

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยเสี้ยว ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับทะเล 450 เมตร พื้นที่รับผิดชอบ 48.54 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยคนเมืองและชาวเขาเผ่าม้ง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรัง มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ อุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200 มม./ปี
กิจกรรมท่องเที่ยว
- ชมสวนมะม่วงพันธุ์เออร์วิน พันธุ์นวลคำ และสวนมะละกอพันธุ์ปากช่อง ในแปลงวิจัยของศูนย์ฯ
- ชมสวนผลไม้ของชาวบ้านในพื้นที่
ประเพณีและวัฒนธรรม
- ชมประเพณีสืบชะตาหลวงประจำหมู่บ้าน จัดช่วงเดือนกุมภาพันธ์
- ประเพณีตานข้าวใหม่ จัดขึ้นหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงต้นมกราคม
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ
- ชมน้ำตกตาลครก ใช้เส้นทางหางดง-สะเมิง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร จากนั้นลงเดินเท้าอีก 1 กิโลเมตร
ของฝาก
- งานหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น เครื่องจักสาน ผ้าทอ ปูนขาว
- ผลไม้ในท้องถิ่น
ที่พัก - ร้านอาหาร
- ไม่มีที่พักบริการภายในศูนย์ฯ
- ไม่มีร้านอาหารบริการภายในศูนย์ฯ

การเดินทาง
จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงสาย 108 เชียงใหม่-ฮอด ตรงไป 10 กิโลเมตร ประมาณ กม. 10-11 ให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงสาย 1269 หางดง-สะเมิง 12 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนลูกรังตรงข้ามทางเข้าโรงเรียนวัดคีรีเขตประมาณ 3.5 กิโลเมตร

หมายเหตุ - ใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท ยกเว้นฤดูฝนควรใช้รถโฟร์วีลไดร์ฟ (ไม่มีบริการรถยนต์รับจ้าง)


มะม่วงพันธ์เออร์วิน ,มะม่วงพันธ์นวลคำ ,มะละกอพันธ์ปากช่อง

แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
............จากสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำ ในการอุปโภคบริโภค ที่ประสบอยู่ในปัจจุบันนี้ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว ได้ให้ความรู้และชี้ให้ราษฎร เห็นถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์ป่าไม้ และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้ไม่ให้เกิดไฟไหม้ป่า ไม่ตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะบริเวณแหล่งต้นน้ำลำธาร และใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกันโดยมีการออกกฎระเบียบในการดูแลรักษาป่าขึ้น
ในส่วนของการเกษตรกรรม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้ผล ประเภทไม้ยืนต้นเพื่อทดแทนสภาพป่าที่ถูกทำลายไป
.............13 ปีที่ผ่านมา การประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร ได้รับการพัฒนาไปสู่รูปแบบที่ถูกต้องทำให้คุณภาพและปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น บนผืนดินที่เป็นหลักแหล่งถาวร และต่างหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า โดยหันมามีส่วนร่วมในการดูแลรักษา สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้นเป็นลำดับ
.............และในวันนี้ งานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว ยังคงดำเนินต่อไป เพื่อให้บรรลุถึงความกินดีอยู่ดีภายใต้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานไว้ตั้งแต่เบื้องต้น


travel and food,Thailand

Advertisement

Post a Comment

 
Top