GOOD

 

memorry memorry Author
Title: "บ้านดิน" สูงสุดคืนสู่สามัญ
Author: memorry
Rating 5 of 5 Des:
การสร้างบ้านดินอาจเรียกได้ว่า "สูงสุดคืนสู่สามัญ" ก็ว่าได้ในยุคที่ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการสร้างบ้านไปไก...



การสร้างบ้านดินอาจเรียกได้ว่า "สูงสุดคืนสู่สามัญ" ก็ว่าได้ในยุคที่ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการสร้างบ้านไปไกลเกินกว่า มนุษย์จะตามทัน การกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วยการสร้างบ้านดิน จึงเป็นหนทางออกสำหรับคนที่ต้องการความเก๋ เท่ มีสไตล์แต่ไร้งบประมาณ

เรื่องสำคัญประการหนึ่งในการสร้างบ้านของคนล้านนา นอกจากการอิงแอบวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรมแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ในการหาแหล่งน้ำเพื่อใช้กิน ดังนั้นเราจะพบว่าเกือบทุกบ้านของชาวล้านนาจะมีการขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ในการ บริโภคการสร้างบ้านเรือนของคนล้านนา ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับธรรมชาติ การเกษตรและวิถีชีวิตผู้คนและมักมีความเกี่ยวเนื่องกับคติความเชื่อในการ สร้างบ้านซึ่งมีอยู่ทุกท้องถิ่น แต่ละแห่งมีพิธีการ ความคิด ความเชื่อทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีความเชื่อต่อพระเจ้า ผีสาง เทวดา แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แผ่นดิน สายน้ำ ทางลม เหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของชาวบ้านอย่างแนบแน่น เมื่อจะกระทำสิ่งใดที่เห็นว่าสำคัญกับความสุขความเจริญ ก็ต้องหาอุบายมาปัดเป่าหรือป้องกัน

การปลูกบ้านเรือนของคนสมัยโบราณ จะคำนึงถึงความร่มเย็นเป็นสุข ความเป็นสิริมงคลและมีโชคลาภแก่เจ้าของบ้าน ครอบครัวตลอดจนข้าทาสบริวารอย่างยืนยาวต่อไป จึงต้องมีคติความเชื่อเหล่านั้นเจือปนเป็นพิธีอยู่ด้วยจนกลายเป็นประเพณีที่ ปฏิบัติสืบเนื่องกันมา

คติความเชื่อในการสร้างบ้านของชาวล้านนาที่สืบทอดปฏิบัติมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ เมื่อเริ่มต้นจะสร้างเรือนจะต้องหาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกบ้านให้ตรง ตามตำราดูลักษณะที่ดิน โดยดูถึงความสูงต่ำของระดับดินบริเวณปลูกสร้าง รูปทรงที่ดิน ตลอดจนเนื้อที่ทั้งหมดรวมทั้งสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

ทว่าเมื่อสภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป มนุษย์ได้เริ่มพัฒนาที่อยู่ อาศัยจากเดิมที่มีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัว ก็พัฒนาเป็นการใช้วัสดุที่มีมาตราฐาน นำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วย จากการใช้ไม้ มาเป็นอิฐที่ทำจากดินเผาพัฒนาสู่คอนกรีต เหล็ก กระจก อลูมิเนียม ขั้นตอนกรรมวิธีการผลิตก็ยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตของมนุษย์

ระบบดังกล่าวได้ทำลายวิถีชีวิตอันเรียบง่าย รวมถึงสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่ของท้องถิ่นหลายแห่งถูกแทนที่ด้วยโรงงานอุตสาหกรรมของควันพิษ สิ่งเหล่านี้ได้ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้จากผู้ที่ตระหนักถึงโทษภัยของระบบ ทุนนิยม อันได้แก่ นักคิด นักก่อสร้างหัวก้าวหน้าที่หาทางออกด้วยการหันกลับไปศึกษารูปแบบและวิธีการใน การสร้างบ้านแบบดั้งเดิมจากภูมิปัญญาของคนโบราณ ด้วยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่รอบมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์

และทางเลือกหนึ่งที่สามารถคลี่คลายปัญหาในการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้ก็คือ การนำดินมาสร้างบ้าน จะว่าไปแล้วสถาปัตยกรรมธรรมชาติที่สร้างจากดิน หรือ บ้านดินนั้น เป็นภูมิปัญญาของโลกที่ได้สั่งสมและพัฒนามาเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่าง มนุษย์กับธรรมชาติ ปัจจุบันมีประชากร 1 ใน 3 ของโลกที่อาศัยอยู่ในบ้านดินดิบ

อย่างไรก็ตาม บ้านดินก็เป็นเพียงแขนงหนึ่งของสถาปัตยกรรมธรรมชาติที่เน้นในเรื่องการใช้ วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น มีราคาถูกและเรียบง่ายจากกระแสด้านวัฒนธรรมในปัจจุบัน มีการก่อสร้างบ้านดินขึ้นในหลายพื้นที่ ทั้งนี้เป็นการย้อนคืนกลับไปหาธรรมชาติ บ้านดินเหล่านี้สร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย ไม่หรูหรา ราคาไม่แพง แต่ทว่าสุดแสนจะคลาสสิก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของบ้านจะออกแบบบ้านดินให้ออกมาในสไตล์ไหน

การสร้างบ้านดินอาจเรียกได้ว่า "สูงสุดคืนสู่สามัญ" ก็ว่าได้ในยุคที่ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการสร้างบ้านไปไกลเกินกว่า มนุษย์จะตามทัน การกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วยการสร้างบ้านดิน จึงเป็นหนทางออกสำหรับคนที่ต้องการความเก๋ เท่ มีสไตล์แต่ไร้งบประมาณ

จักรพงษ์ คำบุญเรือง
jakrapong@chiangmainews.co.th.
25/1/52

travel and food,Thailand

Advertisement

Post a Comment

 
Top