GOOD

 

memorry memorry Author
Title: งานเทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง
Author: memorry
Rating 5 of 5 Des:
ทักทายกันยามเย็น เริ่มแล้ว ๆ งานเทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง วันที่ วันที่ 16 - 18 มกราคม 2552 นี้ค่ะ ณ บริเวณหมู่บ้านหัตถกรรมบ่อส...
ทักทายกันยามเย็น เริ่มแล้ว ๆ งานเทศกาลร่มบ่อสร้างและหัตถกรรมสันกำแพง วันที่ วันที่ 16 - 18 มกราคม 2552 นี้ค่ะ ณ บริเวณหมู่บ้านหัตถกรรมบ่อสร้าง ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ พบกับกิจกรรม การจัดขบวนแห่วัฒนธรรมรถประดับร่ม การประกวดหัตถกรรม การแข่งขันวาดพัด วาดร่มของนักท่องเที่ยว การประกวดธิดาร่วมบ่อสร้าง “แม่ญิงงามขี่รถถีบกางจ้อง” (ผู้หญิงถีบจักรยานกางร่ม) การกินข้าวแลง(ข้าวเย็น) และขันโตก
การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่หาดูได้ยาก "Street Fair" คือ ใช้พื้นที่ของหมู่บ้านบ่อสร้างซึ่งขนานกันตลอดแนวถนน ตั้งแต่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้านระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นสถานที่จัดงาน ตกแต่งบ้านและร้านค้าต่างๆ เป็นแบบล้านนาไทย และใช้ร่มสัญลักษณ์ของหมู่บ้านเป็นส่วนประกอบสำคัญในการตกแต่ง พร้อมทั้งประดับประทีบโคมไฟแบบพื้นเมือง
นอกจากนี้ยังมีการแสดงและจำหน่ายร่มกระดาษสาและสินค้าหัตถกรรมของผู้ประกอบการในหมู่บ้านบ่อสร้างที่ผลิตและจำหน่ายในราคาย่อมเยาว์ค่ะ


ขอย้อนอดีตถึงประวัติความเป็นมาของการทำร่ม ให้ได้รู้ประวัติความเป็นมากันก่อนไปร่วมงานนะคะ
การ ทำร่มเป็นอาชีพของชาวบ้านในอำเภอสันกำแพง เป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อไปทั้งในและ ต่างประเทศ จนเป็นสัญญลักษณ์ของเชียงใหม่อย่างหนึ่งจนทุกวันนี้เมื่อประมาณเกือบร้อยปี มาแล้ว
มีพระภิกษุ ชื่อพระอินถา ( นามฉายาไม่ปรากฏ ) อยู่ในสำนักวัดบ่อสร้างซึ่งท่านได้ปฏิบัติธรรม โดยการเดินธุดงค์ ไม่ชอบอยู่จำวัดท่านชอบศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ในถิ่นต่างๆ
วันหนึ่งท่านได้ธุดงค์ไปใกล้ชายแดนพม่า มีพุทธศาสนิกชนทั้งไทยและพม่ามาร่วมทำบุญตักบาตร


ใน ครั้งนั้นได้มีชาวพม่าคนหนึ่งนำกลดมาถวาย ชาวพม่าได้เล่าว่าเป็นผู้ทำกลดนี้ขึ้นเอง ท่านก็นำกลดขึ้นมาพิจารณาดูว่า มีวิธีทำกันอย่างไร จึงตั้งใจว่าต้องไปศึกษาวิธีทำกลดนี้ให้ได้ จึงเข้าไปศึกษาวิธีการทำกลด, ทำร่ม ที่ชาวพม่าใช้กันแดดกันฝน ซึ่งร่มเหล่านี้ทำด้วยกระดาษสาทั้งสิ้น ติดด้วยน้ำมันยาง ทำให้แข็งแรงทนทาน ท่านจึงคิดศึกษาหาวิธีทำร่มแล้วนำมาถ่ายทอดที่สำนักวัดบ่อสร้างพอกลับมาถึง บ่อสร้าง จึงได้ชักชวนชาวบ้านช่วยกันหาวัตถุดิบ ผู้ชายให้ไปหาเปลือกไม้ นำมาต้มให้เปื่อยทุบให้ละเอียดแล้วใช้ผ้าฝ้ายตาห่างๆ ทำเป็นแม่พิมพ์วางลงในอ่างน้ำแล้วนำปอสาทุบละเอียดมากวนให้แตกทั่วพิมพ์ แล้วยกไปตากแดด พอแห้งก็ทำเป็นกระดาษสาส่วนการทำร่ม ท่านได้สอนทำกลอน โดยใช้ไม้ไผ่ (ทางเหนือเรียกไม้บง ) ส่วนหัวใช้คุ้มและไม้ส้มเห็ด ส่วนคันให้ใช้ไม้รวกและยางตะโกเป็นติด พอเสร็จแล้วใช้น้ำมันยางทาอีกทีเพื่อกันแดดกันฝนต่อมาเริ่มมีการใช้กันมาก ขึ้นอย่างแพร่หลาย มีคนที่มีแนวคิดประดิษฐ์ลวดลายล้านนาใส่ เพื่อความสวยงามและนำออกใช้จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จนปัจจุบันสร้างชื่อเสียงขจรไกลไปทั่วโลกและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด เชียงใหม่แล้วนับว่าเป็นภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย ที่ได้ถ่ายทอดถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และได้สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับลูกหลาน มาจนถึงทุกวันนี้




สอบถามรายละเอียด
เทศบาลตำบลต้นเปา โทรศัพท์ 0 5333 8048 - 9, www.tonpao.go.th
ททท. สำนักงานเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5324 8604, 0 5324 8607, 0 5324 1466

travel and food,Thailand

Advertisement

Post a Comment

 
Top