GOOD

 

memorry memorry Author
Title: พิธีบวงสรวงปู่แสะย่าแสะ,Pu Sae - Ya Sae Ceremony (June)
Author: memorry
Rating 5 of 5 Des:
พิธีบวงสรวงปู่แสะย่าแสะ สวัสดีค่ะ ทุก ๆ คน ช่วงนี้เหนื่อยค่ะ งานเยอะจริง ๆ เยอะไม่พอด่วนอีกต่างหาก อย่างเมื่อวานนี้หัวหน้าไห้งานตอนเที่ยงบ...
พิธีบวงสรวงปู่แสะย่าแสะ
สวัสดีค่ะ ทุก ๆ คน ช่วงนี้เหนื่อยค่ะ งานเยอะจริง ๆ เยอะไม่พอด่วนอีกต่างหาก อย่างเมื่อวานนี้หัวหน้าไห้งานตอนเที่ยงบอกว่าด่วนพิเศษ เราก็นั่งทำลั้นลา ๆ ผ่านไป 10 นาที หัวหน้าเข้ามาถาม งานที่ให้ทำอ่ะให้เสร็จภายในหนึ่งชั่วโมงได้ไหม เง้อออ (อึ้ง กึมกี่ไปชั่วขณะ) แล้วตอบเบา ๆ ว่าจะพยายามค่ะ 5555+ ปั่นเขียนโปรแกรมนิ้วแทบจะง่อยรับปะทาน ง้าาา.. เป่งลูกจ้างเค้าก็งี้แหละ สวยทึกและต้องบึกบึน อิอิ บ่น ๆ ๆ อิอิ

ง่าาา พากินพาเที่ยวมาซะหลายที่ละอยู่เมืองเชียงใหม่มาหลายปีดีดักก็ได้พบเห็นประเพณีต่าง ๆ ของชาวเชียงใหม่มากมายเลย แต่มีประเพณีหนึ่งที่ทำให้ทึ่งอึ้งเสียวกันไปตาม ๆ กันก็คือ..

พิธีบวงสรวงปู่แสะย่าแสะหรือ ประเพณีเลี้ยงดง พิธีกรรมที่มีการกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางและวิพากษ์วิจารณ์กันไปมากมาย ถึงความสยดสยองของการกินเลือดและเนื้อควายสดๆ ของร่างทรงปู่แสะ กล่าวกันว่าเป็นพิธีที่ชาว ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี โดยพิธีบวงสรวงปู่แสะ ย่าแสะ หรือประเพณีเลี้ยงดงนั้น จะจัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี และในปีนี้ตรงกับวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมาค่ะ (จะเขียนเรื่องนี้มาตั้งนานล่ะ ไม่มีโอกาสซะที) โดยพิธีกรรมเริ่มขึ้นที่ศาลปู่และย่าแสะ ที่เชิงเขาวัดดอยคำ เพื่ออัญเชิญพระบฏหรือภาพเขียนพระพุทธเจ้าและดวงวิญญาณปู่แสะย่าแสะผ่านร่าง ทรงที่เรียกว่า "ม้าขี่" ไปยังสถานที่จัดพิธีเลี้ยงดง บริเวณป่าเชิงเขาทางทิศตะวันออกของวัดพระธาตุดอยคำ สำหรับเรื่องราวของปู่แสะ ย่าแสะนั้น เล่าสืบต่อกันมาว่า ปู่แสะย่าแสะคือยักษ์ 2 ตนที่อยู่ในตำนาน เป็นยักษ์นิสัยดุร้าย ชอบกินเนื้อคนและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดสัตว์ ทราบความเข้าจึงห้ามยักษ์สองตนไม่ให้กินคน ยักษ์จึงต่อรองขอกินสัตว์หูยาวแทนและเมื่อละเว้นการฆ่าคนได้ พระพุทธเจ้าจึงให้ยักษ์ 2 ตน เป็นผู้ดูแลรักษาดอยคำและดอยสุเทพให้ผู้คนที่อยู่อาศัยอยู่บนดอยนั้นอยู่ เย็นเป็นสุข ต่อมาในสมัยของพระเมกุฏิ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนทุกข์เข็ญอย่างมาก จึงเชื่อกันว่าเพราะเจ้าเมืองไม่มีการทำพิธีเซ่นไหว้ปู่แสะ ย่าแสะ กระทั่งในสมัยของเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้าย ในราวปี พ.ศ.2452-2482 จึงได้มีการฟื้นฟูประเพณีเลี้ยงดงหรือ พิธีบวงสรวงปู่แสะย่าแสะ ขึ้นอีกครั้งทำให้บ้านเมืองมีความเจริญ และปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน พิธีดังกล่าว จะใช้เครื่องเซ่นไหว้ คือ ควายรุ่น เขาเพียงหู กีบเท้าสีน้ำผึ้ง กล่าวคือยังไม่เคยลงไถคราดดิน มาชำแหละเอาเครื่องในออกและนำตัวมานอนแผ่ไว้ในคอก โดยพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มขึ้นเมื่อดึงผ้าพระบฏหรือภาพวาดพระ พุทธเจ้าที่มีอายุกว่าร้อยปีขึ้นสู่ต้นไม้และแกว่งไปมา ทั้งนี้มาจากตำนานที่เล่าไว้ว่า พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้กับยักษ์ปู่แสะย่าแสะว่า ตราบใดที่เราตถาคตยังเคลื่อนไหวอยู่ ห้ามยักษ์นั้นกินเนื้อมนุษย์และทำร้ายมนุษย์ จากนั้นเมื่อปู่แสะลงร่างทรง ร่างทรงปู่แสะก็จะลงมากินเนื้อควายสดๆ และดื่มเลือดควายอย่างเอร็ดอร่อย พร้อมเดินไปรอบๆ เนื้อตัวเปรอะเปื้อนไปด้วยคราบเลือดและเศษเนื้อควาย นอกจากนี้ยังพูดคุยเสียงดังด้วยภาษาพื้นเมือง ซึ่งใจความว่า มนุษย์พวกนั้น ที่มันอยู่ที่นี่ แล้วเอาที่ไปขายกิน มันจงพินาศฉิบหาย กูจะไปกินมัน นอกจากนั้นร่างทรงปู่แสะยังสั่งสอนเตือนสติชาวบ้านให้ประกอบแต่กรรมดีและ รู้จักรักและหวงแหนผืนป่า
ไม่ใช่ว่าบ้านเราเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนหรอกนะคะ แต่หัวใจของพิธีก็เพื่อให้ผู้มาร่วมพิธีกรรมและทุกคนประกอบแต่กรรม ดี และรู้สึกสำนึกรักษ์ป่าและผืนแผ่นดินที่อยู่อาศัยค่ะ

Pu Sae - Ya Sae Ceremony (June)
A particularly gruesome animist ceremony still performed by some in Chiang Mai.

According to tradition, Pu Sae and Ya Sae are the guardian spirits of Chiang Mai, who now roam the slopes of Doi Suthep. The original inhabitants of this area were the Lawa who in early days are thought to have been cannibals and this is closely bound up with the Pu Sae - Ya Sae ritual as it is practised today. Legend has it that the Lord Buddha visited Chiang Mai. These two, brother and sister, followed him with the intention of killing and eating him. The Buddha stopped and spoke to them and managed to persuade them to give up their cannibalistic ways. They pleaded with him to be allowed to eat buffalo flesh instead, even if only once a year.

So it is that once a year at the beginning of the rainy season, usually in May, a buffalo is ritually sacrificed. Formerly the Prince of Chiang Mai presided over the ceremony, which was also attended by Buddhist monks. This very ancient occasion now seems to be an attempt to bring together Shamanism and Buddhism and also to unite the Lawa people, some of whom still live in the area, and the Thais who replaced them.

In the words of the Pu Sae - Ya Sae invocation, 'Let not the rice of the Lawa die in their swiddens; let not the rice of the Thai wither and die in their paddies.' Clearly the association between Lawa and Northern Thai is both long and close.



travel and food,Thailand

Advertisement

Post a Comment

Madame Tabb said... November 21, 2008 at 10:14 PM

ว๊าย!
พิธีนี้พี่แตบขอบายนะคะ ถึงจะทราบมาว่าเป็นพิธีกรรมที่สืบทอดมาช้านาน แต่ก็สงสารควายมากๆค่ะ(ฟังดูเหมือนเป็นคนดียังไงไม่รู้)
วันนี้วันศุกร์ไปแอ่วไหนหรือเปล่าคะน้องเมโม่?
เหนื่อยกับงานมาแล้ว ก็พักผ่อนช่วงวันหยุดให้มากๆ และอย่าลืมรักษาสุขภาพนะคะ จุ๊บๆ ค่ะ

 
Top