GOOD

 

memorry memorry Author
Title: พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก Baan Jang Nak
Author: memorry
Rating 5 of 5 Des:
พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก สวัสดีตอนเย็นๆ วันอาทิตย์ค่ะ วันนี้เป็นวันหยุดเลยมาอัพบล็อคกันช้าหน่อย หลังจากที่เมื่อวานได้นำเสนอบ้านร้อยอันพันอย่าง...
พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก

สวัสดีตอนเย็นๆ วันอาทิตย์ค่ะ วันนี้เป็นวันหยุดเลยมาอัพบล็อคกันช้าหน่อย หลังจากที่เมื่อวานได้นำเสนอบ้านร้อยอันพันอย่างไปแล้วนะคะวันนี้ก็ขอเสนออะไรที่แนว ๆ เดียวกันที่ที่ว่านี้นะคะก็คือ พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก (จ๊าก ภาษาเหนือแปลว่าช้างค่ะ ดังนั้นคำว่าจ๊างนัก จึงแปลว่า ช้างเยอะนั่นเอง ^_^) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดย สล่าเพชร วิริยะ (สล่า แปลว่าช่างค่ะ)ซึ่งได้รวบรวมเพื่อนฝูง ตลอดจนลูกศิษย์ลูกหา ช่างแกะสลักฝีมือดีและมีความรักในศิลปะการแกะสลัก ไม้แบบล้านนามารวมตัวกันจัดตั้ง กลุ่มแกะสลักขึ้นมา

เมื่อ ปีพ.ศ.2531 คุณลุงประยูร จรรยาวงศ์ (2458) คอลัมน์นิสต์ชื่อดังแห่งหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐในขณะ นั้น ได้ให้เกียรติ มา เยี่ยม เยือน พร้อมกับตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านจ๊างนัก” อันหมายถึงบ้านที่มีช้าง เยอะแยะมากมาย

บ้าน จ๊างนัก ได้มีการพัฒนารูปแบบการแกะสลักช้าง จากเดิมที่ช่างแกะจะมีการแกะสลักแบบ ตายตัว รูปแบบจะซ้ำกัน มาเป็นการแกะสลักช้างที่ดูมีชีวิตชีวา มีท่าทางท่วงทำนองที่เหมือน ช้างจริง ๆ ซึ่งนับเป็นแห่งแรกที่มีการแกะสลักช้าง รูปแบบนี้

บ้าน จ๊างนัก ยังเป็นแห่งแรกที่มีการทดลองนำวัสดุใหม่ๆที่หาได้ในท้องถิ่นมาทด แทนวัสดุเดิม ที่นับวันมีแต่จะหายากมากขึ้น เช่น มีการนำเอาไม้ขี้เหล็กมาทดแทนไม้สัก
ซึ่งประโยชน์เพียงอย่างเดียวของไม้ขี้เหล็ก ในสมัยก่อน คือนำมาทำเป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น และผลที่ได้จากการนำมาแกะสลักพบว่า ไม้ขี้เหล็กเป็นไม้เนื้อแข็งมากการแกะค่อน ข้างยากกว่าไม้สัก แต่ผลงานที่ออกมาจะสวยงาม และสีเป็นธรรมชาติ

นอก จากการทดลองเรื่องของไม้แล้ว ยังมีการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอด กันมามาประยุกต์ใช้ กับงานแกะสลัก นั่นก็คือ นำเอาลูกมะเกลือที่ใช้ในการย้อมผ้า มาย้อมสีไม้ซึ่งก็ให้สีที่เป็นธรรมชาติและ ไม่มีสารพิษตกค้างเป็นอันตราย ต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมค่ะ

เมื่อ ปี พ.ศ. 2546 บ้านจ๊างนัก ได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น สังกัด เอกชน ยังผลให้เป็นที่รู้จัก กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ ที่มีความสนใจในศิลปะแขนงนี้


นอก จากนี้ หนึ่งในความภาคภูมิใจของสล่าบ้านจ๊างนักทุกคนคือการที่เป็นส่วนหนึ่ง ของการทำให้ผู้คน ได้เกิดความรัก หวงแหน และ ตระหนักถึงความสำคัญ และปัญหาของ ช้างไทยในปัจจุบัน และร่วมกันอนุรักษ์ช้างไทยให้อยู่คู่กับคนไทยอีกนานเท่านานอีกด้วยค่ะ

สำหรับผู้ที่สนใจนะคะ พิพิธภัณฑ์บ้านจ๊างนัก ก็ตั้งอยู่ที่

56/1 หมู่ 2 ต. บวกค้าง อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่

โทร / แฟกส์ . 053-446891 email : yingfoto@hotmail.com ค่ะ


Baan Jang Nak : A Museum of Elephant wood carvings , Sankampang, Chiang Mai.

Founded on 1985 by Mr. Phet Wiriya, who has a strongly passion on the art of wood carving. He was a student of the greatest wood carver in Lam Pang "Kum-ay DejDuangTa" who taugh him about carving and suggested him to the beauty and meaningful spirit of Elephants. After Phet finished learning with his teacher, he got a career in Bangkok to teach prisoner about wood carving. He later came back to his hometown and led a couple of his friends and students who also love and want to learn traditional Lanna Style woodcarving

Phet started caved everything from earth to sky, animals, Fruits and vegetables, Scenery, Human sculpture ,etc. and finally the onlything he love and happy to do was to carve elephant. He stoped everything and went to the zoo, elephant camp and everywhere that elephants live then took a pictures, sketched and drew the picture of elephants in many actions and postures. He also got a suggestion from the famoust architect and art supporter "Mr. Nidhi Satapitanond" to the way to expressed himself into his work of arts.

On 1988, "Pra Yoon Janyawong" (Born 1915), A famoust columnist at that time visited the house. He was very exciting to see a lot of elephant woodcarving by Phet and his students. He named the place "Baan Jang Nak ", which means a house that full of elephants woodcarving.

Phet and his team had developed the way to carve. He was the first carver who changed the way of a traditional style of Lanna elephant woodcarving which was a standing elephant with long legs and the same posture to a realistic look of elephant. He also experimented in using new materials to carve, suggested a carvmans who used only teak wood to carve. Cassia Wood is a local wood and easily found in Chiang Mai. They are easily found in Thailand. It is a quick growing tree and could grow in anykind of weather. Most of thai people will use the tip of its leaves for foods (Steam or use for the curry). Some part of the tree are used as medicine (good for decrease blood pressure) For its wood, the only purpose is to make a fuel. Phet was the first carveman who use this kind of wood to carve even its wood is harder than anykind of wood, but the result came out with beauty and fantastic work of arts.

Coloring the wood is the most important thing before finishing a piece of wood carving. Chemical coloring is not the way Baan Jang Nak has chosen. In stead, color from the fruit of Ebony tree (Diospyros mollis Griff) is the first choice. Thai people use this kind of fruit for dying a fabric and also use as herb. For coloring with this way, it will take almost 10 layers of the color for each piece of work and the wood will absorb the color into itself. Finally, a color of the elephant wood carvings will look natural, realistic and of course non toxin for human and environment.

On 2003, Baan Jang Nak was named as A Museum of Elephant Wood Carvings and have shown many of master piece elephant wood carvings that Phet has collected since he first carved and also many of wood carvings of his friends and students during the past 22 years. Visitors from around the world came here to visit and tell the stories of the elephants in thailand to their families and friends. As well as a willing of everyone in Baan Jang Nak who love and want to protect the real elephants and want to tell the stories of them through their works.




travel and food,Thailand

Advertisement

Post a Comment

Madame Tabb said... November 24, 2008 at 1:49 PM

ว้าว!เริ่ดอีกแล้วค่ะน้องเมโม่
จริงๆแล้วเมื่อคืนนี้พี่เข้ามาอ่าน 2 รอบแล้วนะคะ แต่เม้าส์มีปัญหา เลยยังไม่ได้เม้นท์ให้
ขอบคุณที่ขยันนำเรื่องราวดีๆมาถ่ายทอดให้อ่านเป็นประจำ
ปล.ขยันโปรโมทการท่องเที่ยวของไทยอย่างนี้ น่าชื่นชมจริงๆค่ะ ขอบคุณน้องเมโม่ในฐานะตัวแทนคนไทยทั้งชาตินะคะ จุ๊บๆค่ะ

 
Top